นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้
จะมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า(Stimulus) กับการตอบสนอง(Response) กลุ่มพฤติกรรมนิยมจะให้ความสนใจกับพฤติกรรมมากที่สุด เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้ ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical
Conditioning Theory)
พาฟลอฟ
(Pavlov,
1849 - 1936)
ทำการทดลองกับสุนัข ในบางครั้งสุนัขน้ำลายไหลโดยที่ยังไม่ได้รับอาหารเพียงแค่เห็นผู้ทดลองที่เคยเป็นผู้ให้อาหารเดินเข้ามาในห้องนั้น
สุนัขก็น้ำลายไหลแล้ว พาฟลอฟจึงคิดรูปแบบการทดลองเพื่อหาสาเหตุให้ได้ว่า
เพราะอะไรสุนัขจึงน้ำลายไหลทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รับอาหาร พาฟลอฟเริ่มการทดลองโดยก่อนที่จะให้อาหารแก่สุนัขจะต้องสั่นกระดิ่งก่อน
(สั่นกระดิ่งแล้วทิ้งไว้ประมาณ .25 –.50 วินาที) แล้วตามด้วยอาหาร
(ผงเนื้อ) ทำอย่างนี้อยู่หลายๆครั้ง จากนั้นเมื่อสั่นกระดิ่ง สุนัขก็จะตอบสนอง คือน้ำลายไหล
จากการทดลองของพาฟลอฟ แสดงให้เห็นว่า การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเหตุผลที่ว่า
ครั้งแรกสุนัขไม่มีปฏิกิริยาใดๆ ต่อเสียงกระดิ่ง แต่เมื่อเกิดการเรียนรู้ว่า
ถ้าได้ยินเสียงกระดิ่งจะได้อาหารหรือผงเนื้อ ครั้งต่อๆ
มาสุนัขจะมีปฏิกิริยาต่อเสียงกระดิ่ง คือ น้ำลายไหล นั่นคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือเกิดการเรียนรู้นั่นเอง
วัตสัน
(John
B.Watson, 1878 - 1958) วัตสันและผู้ช่วยชื่อเรย์เนอร์
ได้เขียนบทความชื่อว่า “Conditioned Emotional Reactions” ซึ่งสรุปผลการทดลอง
โดยเริ่มจากผู้ทดลองเคาะแผ่นเหล็กให้ดังขึ้น ให้เสียงดังกล่าวเป็นสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข(UCS) ซึ่งจะก่อให้เกิดการตอบสนองที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข(UCR) คือ ความกลัว วัตสันได้ใช้หนูขาวเป็นสิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข (CS) มาล่อหนูน้อยอัลเบิร์ต (Albert) อายุ 8-9 เดือน ซึ่งชอบหนูขาวแต่ไม่แสดงความกลัว
แต่ขณะที่หนูน้อยยื่นมือไปจับเสียงแผ่นเหล็กก็จะดังขึ้น ซึ่งทำให้หนูน้อยกลัว
ทำคู่กันเช่นนี้เพียงเจ็ดครั้งในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์
ปรากฏว่าตอนหลังหนูน้อยเห็นแต่เพียงหนูขาวก็แสดงความกลัวทันที
ต่อมาวัตสันได้แก้ความกลัวหนูขาวของอัลเบิร์ต
โดยให้มารดาอุ้มพร้อมกับเอามือจับหนูขาวลูบตัวหนูขาวอยู่จนกระทั่งอัลเบิร์ต์หายกลัวหนูขาว
และยังสามารถเอามือจับหนูขาวได้ หลักการนี้เรียกว่า Counter Conditioning
2.
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ (Operant
Conditioning Theory)
ธอร์นไดค์ (Thorndike, 1814 - 1949) เป็นบิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา
และเป็นผู้ที่คิดทฤษฎี Connectionism ธอร์นไดค์ทำการทดลอง โดยนำแมวที่หิวมากไปขังไว้ในกล่องที่สร้างขึ้น
แล้วนำอาหารไปวางล่อไว้นอกกรง แล้วเฝ้าสังเกตว่าแมวพยายามหาวิธีออกจากกรงอย่างไร
ด้วยความบังเอิญเท้าของมันไปเหยียบถูกสลัก ทำให้ประตูเปิดออก
หลังจากนั้นขังแมวไว้ใหม่ หลายๆครั้งจนแมวเกิดการเรียนรู้ ใช้เวลาในการเปิดกรงได้ในทันที ซึ่งธอร์นไดค์เรียกการเรียนรู้ของแมวว่าเป็นการเรียนรู้แบบ
“ลองผิดลองถูก”(Trial and Error) จากผลการทดลองดังกล่าว ธอร์นไดค์สามารถสรุปเป็นกฎแห่งการเรียนรู้ ได้ดังนี้
1.
กฎแห่งผล (Law of Effect) ถ้าทำแล้วได้ผลลัพธ์ที่ดีก็จะทำสิ่งนั้นอีก
แต่ถ้าทำแล้วได้ผลลัพธ์ที่ไม่ดีก็จะไม่ทำสิ่งนั้นอีก
2.
กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดี
ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้งร่างกาย และจิตใจ
3.
กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) การกระทำบ่อยๆ
จะทำให้การเรียนรู้นั้นคงทนถาวร
4.
กฎแห่งการใช้ (Law of Use and Disuse) ถ้าได้มีการนำการเรียนรู้ไปใช้บ่อยๆ
การเรียนรู้นั้นจะมีความคงทนถาวร หากไม่มีการนำไปใช้อาจเกิดการลืมได้
สกินเนอร์ (Burrhus Skinner, 1904 - 1990) เป็นศาสตรจารย์ทางจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัย Horvard ชาวอเมริกา สกินเนอร์เชื่อว่า
การเชื่อมโยงจะเกิดระหว่างสิ่งเสริมแรงและการตอบสนอง (Response) ไม่ใช่เกิดระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) และการตอบสนอง
(Response) การทดลองกระทำโดยจับหนูที่กำลังหิวใส่ในSkinner
Box ซึ่งภายในมีคานซึ่งถ้าหนูกดลงไปแล้วจะมีเสียงดังแกรกพร้อมกับมีอาหารหล่นลงมา
และเมื่อใดก็ตามที่หนูไปกดคาน อาหารก็จะหล่นลงมาทุกครั้ง จากการทดลองของสกินเนอร์ พบว่า
หลังจากผ่านไประยะหนึ่งแล้วเมื่อหนูหิว
หนูสามารถเดินไปกดคานได้เลยโดยไม่ต้องลองผิดลองถูกอีก
นั้นหมายถึงว่าหนูเกิดการเรียนรู้แล้วและในการทดลองนี้สิ่งที่สกินเนอร์ให้ความสำคัญมากว่าเป็นสิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้
คือ อาหารซึ่งเขาเรียกว่า การเสริมแรง (Reinforcer) ซึ่งมีบทบาทในการกระตุ้นให้หนูแสดงพฤติกรรมตอบสนองที่ต้องการ
คือ การกดคาน
การเสริมแรง (Reinforcement)
การเสริมแรงเป็นสภาวะการณ์ที่มีการให้ตัวเสริมแรงในการกระทำพฤติกรรม
โดยการเสริมแรงจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. การเสริมแรงทางบวก
เป็นการให้สิ่งที่จะช่วยเพิ่มแนวโน้มของการตอบสนอง และมักจะเป็นการให้สิ่งดีๆ เช่น
ของขวัญ เงิน อาหาร เป็นต้น
2. การเสริมแรงทางลบ เป็นการนำสิ่งที่ไม่พอใจ ไม่ชอบออกไปหรือเป็นการปรับสภาวะจากลบ
ไปเป็นกลาง แล้วเพิ่มแนวโน้มของการตอบสนองที่ต้องการ เช่น นำความร้อนออกไปจากห้องทำงาน โดยการติดเครื่องปรับอากาศ
ทำให้พนักงานพอใจกับสภาพแวดล้อมการทำงานมากขึ้น เป็นต้น
น่ารักโพด
ตอบลบดีมากครับผม ถูกต้องสาระสนเทศที่นักศึกษาหามา
ตอบลบ