วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558

Inside Out กับทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธิปัญญา



คุณเคยมองใครซักคนแล้วสงสัยหรือเปล่า ว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นในหัวของเค้า ?
“Do you ever look at someone and wonder what is going on inside their head?”

เรื่องย่อ
Inside Out เป็นเรื่องราวเกียวกับอารมณ์ ความรู้สึกของเด็กหญิงตัวน้อยๆที่ชื่อว่า ไรลีย์ (Riley) ที่พ่อของเธอต้องย้ายออกจากบ้านเก่า มาสู่ซานฟรานซิสโก  ไรลีย์ มีตัวอารมณ์ นำทางชีวิตอันแสนเศร้าของเธอ โดยมี Joy(ลั้ลลา) เป็นตัวแทนแห่งความสนุกสนาน , Fear(กลั๊วกลัว) เป็นตัวแทนแห่งความกลัว , Anger(ฉุนเฉียว) เป็นตัวแทนแห่งความโกรธ , Disgust(หยะแหยง) ตัวแทนแห่งความรังเกียจ และ Sadness(เศร้าซึม) เป็นตัวแทนแห่งความเศร้า  ตัวแทนแห่งอารมณ์เหล่านี้อาศัยอยู่ในสำนักงานใหญ่ ที่เป็นศูนย์ควบคุมอยู่ในใจของไรลีย์ พวกเขาเหล่านี้คอยเป็นผู้ให้คำแนะนำกับเธอในการผ่านชีวิตประจำวัน ในขณะที่ ไรลีย์ และเหล่าอารมณ์ ของเธอกำลังพยายามปรับตัวให้เข้ากับชีวิตใหม่

ไรลีย์เมื่อวัยเด็ก
           ไรลีย์เติบโตและอาศัยอยู่กับพ่อแม่ที่เมือง Minnesota เมืองที่อากาศหนาวเย็น แต่ไรลีย์อยู่ในบ้านที่อบอุ่น พ่อแม่รักและเอาใจใส่ มีเพื่อนที่ดี มีกีฬาที่ชื่นชอบและเล่นได้ดีอย่างฮอกกี้  ไรลีย์เป็นเด็กที่มีความสุข แม้จะมาอารณ์เศร้าหรอกลัวอยู่บ้าง  ซึ่งในภาพยนต์จะทำให้เราเห็นว่า ลูกแก้วความทรงจำของไรลีย์ส่วนมากจะมีแต่สีทอง เนื่องจากสีทองหมายถึงสีแห่งความสุข  ตัวละครที่เป็นตัวแทนแห่งความสุข ก็คือ Joy 

จุดเริ่มต้นของปัญหา
ปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องมาจากวันหนึ่งไรลีย์ต้องย้ายบ้านไปอยู่ที่เมือง San Francisco และเหมือนพ่อจะมีปัญหาเรื่องการเงิน และการงาน ทำให้เกิดความเครียด รวมไปถึงบ้านที่ดูสกปรกไม่น่าอยู่ อีกทั้ง ไรลีย์ยังต้องย้ายโรงเรียนและต้องห่างจากเพื่อนสนิท  สิ่งเหล่านี้เข้ามาพร้อมกัน ทำให้ไรลีย์ยิ้มไม่ออก เธอเริ่มเศร้า โกรธ กลัว  Joy ตัวแทนแห่งความสุข พยายามรักษาความรู้สึกของไรลีย์ ด้วยการพยายามจัดการทุกอย่างเอง Joy บอกให้เศร้าซึมอยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร เพราะเชื่อว่า การที่เศร้าซึมออกมาทำอะไรต่างๆ น่าจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้
 
ปัญหาเริ่มหนักขึ้น
จากเด็กที่ร่าเริง สนุกสนาน มีความสุข กลายเป็นเด็กซึมเศร้า อารมณ์รุนแรง ปัญหาต่างๆมากมายเข้ามาพร้อมกัน ทำให้ไรลีย์ตัดสินใจหนีออกจากบ้าน เพื่อกลับไปหาเพื่อนที่เมือง Minnesota ด้วยการขโมยเงินแม่ และหนีออกมาจากบ้านในตอนเช้าตรู่ 

ปัญหาจบลง
หลังจากที่พ่อแม่กลับมาถึงบ้าน แล้วไม่พบไรลีย์ แม่จึงพยายามโทรศัพท์ติดต่อไรลีย์หลายครั้ง แต่ไรลีย์ก็ไม่สนใจ จนเมื่อไรลีย์เดินทางถึงสถานีขนส่ง ไรลีย์ตัดสินเดินขึ้นรถบัส แต่แล้วความคิดต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีตเริ่มผุดขึ้นมา ไรลีย์ตัดสินใจบอกให้คนขับรถหยุดรถ และรีบลงจากรถ  ไรลีย์รีบเดินกลับบ้านทันที ไรลีย์ได้เล่าความรู้สึก และปัญหาต่างๆให้พ่อแม่ฟัง  ไรลีย์ ก็ได้รับการปลอบใจจากพ่อและแม่ สุดท้ายมันก็เปลี่ยนจากความเศร้าเป็นความสุข

"ความสุขไม่ได้เกิดจากความร่าเริงเท่านั้น บางทีความเศร้าก็นำมาซึ่งความสุขเช่นกัน"

"ความสุขไม่ได้ผูกติดกับอดีตหรือสถานที่ มันอยู่ที่ตัวเราในปัจจุบัน"





Inside Out กับทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธิปัญญา
มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับอารมณ์และความรู้สึก มนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ได้เมื่อสามารถรู้สึกและรับรู้ได้ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้จะกลายเป็นประสบการณ์และเกิดเป็นความรู้ต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพุทธิปัญญา ดังนี้
ทฤษฎีพัฒนาการเชาวน์ปัญญาของเพียเจต์ : เพียเจต์เชื่อว่า การพัฒนาการทางด้านสติปัญญาเป็นผลเนื่องมาจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมโดยบุคคลพยายามปรับตัวโดยใช้กระบวนการดูดซึม (Assimilation) และกระบวนการปรับให้เหมาะ (Accommodation) โดยการพยายามปรับความรู้ความคิดเดิมกับสิ่งแวดล้อมใหม่ซึ่งทำให้บุคคลอยู่ในภาวะสมดุลสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้กระบวนการดังกล่าวเป็นกระบวนการพัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาของบุคคล
ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูเนอร์ : บรูเนอร์เชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งนำไปสู่การค้นพบ และแก้ไขปัญหา
ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของออซูเบล : ออซูเบลเชื่อว่า การเรียนรู้อย่างมีความหมาย(meaningful learning) จะเกิดขึ้นได้หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีมาก่อน ดังนั้นการใช้กรอบความคิดแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระใดๆจะช่วยเป็นสะพานหรือโครงสร้างที่ผู้เรียนสามารถนำเนื้อหา/สิ่งที่เรียนใหม่ไปเชื่อมโยงยึดเกาะได้ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมาย

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม (Behavioral Theories)


         นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้ จะมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า(Stimulus) กับการตอบสนอง(Response)  กลุ่มพฤติกรรมนิยมจะให้ความสนใจกับพฤติกรรมมากที่สุด  เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้  ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้  จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory)
          พาฟลอฟ (Pavlov, 1849 - 1936) ทำการทดลองกับสุนัข ในบางครั้งสุนัขน้ำลายไหลโดยที่ยังไม่ได้รับอาหารเพียงแค่เห็นผู้ทดลองที่เคยเป็นผู้ให้อาหารเดินเข้ามาในห้องนั้น สุนัขก็น้ำลายไหลแล้ว พาฟลอฟจึงคิดรูปแบบการทดลองเพื่อหาสาเหตุให้ได้ว่า เพราะอะไรสุนัขจึงน้ำลายไหลทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รับอาหาร     พาฟลอฟเริ่มการทดลองโดยก่อนที่จะให้อาหารแก่สุนัขจะต้องสั่นกระดิ่งก่อน (สั่นกระดิ่งแล้วทิ้งไว้ประมาณ .25 –.50 วินาที) แล้วตามด้วยอาหาร (ผงเนื้อ) ทำอย่างนี้อยู่หลายๆครั้ง จากนั้นเมื่อสั่นกระดิ่ง สุนัขก็จะตอบสนอง คือน้ำลายไหล
จากการทดลองของพาฟลอฟ แสดงให้เห็นว่า การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเหตุผลที่ว่า ครั้งแรกสุนัขไม่มีปฏิกิริยาใดๆ ต่อเสียงกระดิ่ง แต่เมื่อเกิดการเรียนรู้ว่า ถ้าได้ยินเสียงกระดิ่งจะได้อาหารหรือผงเนื้อ ครั้งต่อๆ มาสุนัขจะมีปฏิกิริยาต่อเสียงกระดิ่ง คือ น้ำลายไหล  นั่นคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือเกิดการเรียนรู้นั่นเอง
          วัตสัน (John B.Watson, 1878 - 1958) วัตสันและผู้ช่วยชื่อเรย์เนอร์ ได้เขียนบทความชื่อว่า “Conditioned Emotional Reactions” ซึ่งสรุปผลการทดลอง โดยเริ่มจากผู้ทดลองเคาะแผ่นเหล็กให้ดังขึ้น ให้เสียงดังกล่าวเป็นสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข(UCS) ซึ่งจะก่อให้เกิดการตอบสนองที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข(UCR) คือ ความกลัว วัตสันได้ใช้หนูขาวเป็นสิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข (CS) มาล่อหนูน้อยอัลเบิร์ต (Albert) อายุ 8-9 เดือน ซึ่งชอบหนูขาวแต่ไม่แสดงความกลัว แต่ขณะที่หนูน้อยยื่นมือไปจับเสียงแผ่นเหล็กก็จะดังขึ้น ซึ่งทำให้หนูน้อยกลัว ทำคู่กันเช่นนี้เพียงเจ็ดครั้งในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ ปรากฏว่าตอนหลังหนูน้อยเห็นแต่เพียงหนูขาวก็แสดงความกลัวทันที ต่อมาวัตสันได้แก้ความกลัวหนูขาวของอัลเบิร์ต โดยให้มารดาอุ้มพร้อมกับเอามือจับหนูขาวลูบตัวหนูขาวอยู่จนกระทั่งอัลเบิร์ต์หายกลัวหนูขาว และยังสามารถเอามือจับหนูขาวได้ หลักการนี้เรียกว่า Counter Conditioning

2. ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ (Operant Conditioning Theory)
                   ธอร์นไดค์ (Thorndike, 1814 - 1949) เป็นบิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา และเป็นผู้ที่คิดทฤษฎี Connectionism  ธอร์นไดค์ทำการทดลอง โดยนำแมวที่หิวมากไปขังไว้ในกล่องที่สร้างขึ้น แล้วนำอาหารไปวางล่อไว้นอกกรง แล้วเฝ้าสังเกตว่าแมวพยายามหาวิธีออกจากกรงอย่างไร ด้วยความบังเอิญเท้าของมันไปเหยียบถูกสลัก ทำให้ประตูเปิดออก หลังจากนั้นขังแมวไว้ใหม่ หลายๆครั้งจนแมวเกิดการเรียนรู้  ใช้เวลาในการเปิดกรงได้ในทันที ซึ่งธอร์นไดค์เรียกการเรียนรู้ของแมวว่าเป็นการเรียนรู้แบบ ลองผิดลองถูก”(Trial and Error) จากผลการทดลองดังกล่าว  ธอร์นไดค์สามารถสรุปเป็นกฎแห่งการเรียนรู้  ได้ดังนี้
          1. กฎแห่งผล (Law of Effect)  ถ้าทำแล้วได้ผลลัพธ์ที่ดีก็จะทำสิ่งนั้นอีก แต่ถ้าทำแล้วได้ผลลัพธ์ที่ไม่ดีก็จะไม่ทำสิ่งนั้นอีก
2. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดี ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้งร่างกาย และจิตใจ
3. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) การกระทำบ่อยๆ จะทำให้การเรียนรู้นั้นคงทนถาวร
4. กฎแห่งการใช้ (Law of Use and Disuse) ถ้าได้มีการนำการเรียนรู้ไปใช้บ่อยๆ การเรียนรู้นั้นจะมีความคงทนถาวร หากไม่มีการนำไปใช้อาจเกิดการลืมได้
สกินเนอร์ (Burrhus Skinner, 1904 - 1990) เป็นศาสตรจารย์ทางจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัย Horvard ชาวอเมริกา  สกินเนอร์เชื่อว่า การเชื่อมโยงจะเกิดระหว่างสิ่งเสริมแรงและการตอบสนอง (Response) ไม่ใช่เกิดระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) และการตอบสนอง (Response)  การทดลองกระทำโดยจับหนูที่กำลังหิวใส่ในSkinner Box ซึ่งภายในมีคานซึ่งถ้าหนูกดลงไปแล้วจะมีเสียงดังแกรกพร้อมกับมีอาหารหล่นลงมา และเมื่อใดก็ตามที่หนูไปกดคาน อาหารก็จะหล่นลงมาทุกครั้ง  จากการทดลองของสกินเนอร์ พบว่า หลังจากผ่านไประยะหนึ่งแล้วเมื่อหนูหิว หนูสามารถเดินไปกดคานได้เลยโดยไม่ต้องลองผิดลองถูกอีก นั้นหมายถึงว่าหนูเกิดการเรียนรู้แล้วและในการทดลองนี้สิ่งที่สกินเนอร์ให้ความสำคัญมากว่าเป็นสิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้ คือ อาหารซึ่งเขาเรียกว่า การเสริมแรง (Reinforcer) ซึ่งมีบทบาทในการกระตุ้นให้หนูแสดงพฤติกรรมตอบสนองที่ต้องการ คือ การกดคาน
          การเสริมแรง (Reinforcement)
การเสริมแรงเป็นสภาวะการณ์ที่มีการให้ตัวเสริมแรงในการกระทำพฤติกรรม โดยการเสริมแรงจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
          1. การเสริมแรงทางบวก เป็นการให้สิ่งที่จะช่วยเพิ่มแนวโน้มของการตอบสนอง และมักจะเป็นการให้สิ่งดีๆ เช่น ของขวัญ เงิน อาหาร เป็นต้น
2. การเสริมแรงทางลบ เป็นการนำสิ่งที่ไม่พอใจ ไม่ชอบออกไปหรือเป็นการปรับสภาวะจากลบ ไปเป็นกลาง แล้วเพิ่มแนวโน้มของการตอบสนองที่ต้องการ เช่น นำความร้อนออกไปจากห้องทำงาน โดยการติดเครื่องปรับอากาศ ทำให้พนักงานพอใจกับสภาพแวดล้อมการทำงานมากขึ้น เป็นต้น

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

คำถามท้ายบทที่ 1 นวัตกรรมและเทคโนโลยีศึกษา

1. MOOCs(Massive Open Online Courses) ถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาประเภทใด เพราะอะไร
       MOOCs เป็นนวัตกรรมการเรียนการสอน เพราะ MOOCs (มู้กส์) – Massive Open Online Courses  หมายถึง ระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ระบบเปิดสำหรับมหาชน ซึ่งมีลักษณะให้เข้าเรียนได้ไม่จำกัดจำนวนคน เป็นระบบ เปิดที่ทุกคนที่อยากเรียนจะต้องได้เรียน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเรียน และใช้เทคโนโลยีออนไลน์เป็นเครื่องมือ

2. ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาแบ่งออกได้กี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีอย่างไร
นวัตกรรมทางการศึกษาแบ่งออกเป็น 5 ประเภทได้แก่
       1.นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
ข้อดี พัฒนาหลักสูตรให้สามารถตอบสนองความต้องการและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม
       2.นวัตกรรมการเรียนการสอน
ข้อดี ได้วิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม ช่วยให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น
       3.นวัตกรรมสื่อการสอน
ข้อดี สามารถพัฒนาสื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพ และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดเวลา
       4.นวัตกรรมการประเมินผล
ข้อดี เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ส
       5.นวัตกรรมการบริหารจัดการ
ข้อดี ช่วยให้ผู้บริหารการศึกษาสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

3. สมมุติว่านักศึกษาไปเป็นครูประจำการ นักศึกษาจะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาใดเข้ามาช่วยในการจัดการในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) ของผู้เรียนที่นักศึกษาได้ไปสอนและเพราะเหตุใดจึงได้ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษานั้น
       คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) หรือ ซีเอไอ (CAI) เพราะ CAI คือ สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด  โดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ (FEEDBACK) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา

4. ทำไมนักศึกษาวิชาชีพครู  จึงต้องเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
       ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทและอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์เพิ่มขึ้น ดังนั้นนักศึกษาวิชาชีพครูต้องพยายามติดตาม ศึกษา และทำความเข้าใจแนวทางและพัฒนาการที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้และพัฒนาเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับผู้เรียน

5. นักศึกษายกตัวอย่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบันพร้อมอธิบายข้อดีและข้อจำกัด  ของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษานั้น ๆ มา  1  ประเภท
       คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) คือ สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด โดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ (FEEDBACK) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) คือ สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด โดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ (FEEDBACK) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา
       ข้อดีของระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน
1. ทำให้ผู้เรียนเรียนได้ในอัตราความเร็วของตนเอง เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นสื่อ การเรียนการสอนของการเรียนเป็นรายบุคคลที่ดีสามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนตามความสามารถ ของแต่ละบุคคลที่จะเรียนตามอัตราความเร็วของแต่ละคน โดยที่ผู้เรียนไม่ต้องรอหรือเร่งการตอบสนอง (respond)และไม่ต้องรอข้อมูลย้อนกลับ (feed back) จากครู เพราะคอมพิวเตอร์สามารถให้ข้อมูลกลับ แก่ผู้เรียนทุกคนในเวลาเดียวกันโดยใช้ระบบการเจียดเวลา (Time Sharing) 
2.
 ผู้เรียนจะเรียนที่ไหนเมื่อใดก็ได้ ด้วยความก้าวหน้าของระบบการสื่อสารทำให้ผู้เรียนสามารถ ใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อถ่ายทอดความรู้กับผู้อื่น หรือศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากโปรแกรมที่กำหนดไว้ได้ ทุกเวลาที่ต้องการจะเรียนในทุกๆ แห่ง 
3.
 ผู้เรียนสามารถเรียนได้จากสื่อประสม (Multi media) จากระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจาก ระบบไมโครคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนในปัจจุบันได้รับการพัฒนาจนสามารถที่จะแสดงภาพ ลายเส้นที่เคลื่อนไหวและการเสนอบทเรียนเป็นภาษาไทย การต่อวงจรระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมสื่ออื่น ให้เสนอบทเรียนในเวลาที่เหมาะสมกับการตอบสนองของผู้เรียน จะทำให้ประสิทธิภาพการเรียนการสอนดีขึ้นมาก 
4.
 ผู้เรียนสามารถทราบผลการเรียนของตนเองในการปฏิบัติกิจกรรมรวดเร็วกว่าสื่ออื่นๆ เนื่องจาก คอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่น คือการเก็บข้อมูลซ่อนคำตอบของกิจกรรมไว้ในหน่วยความจำหรือ แผ่นดิสก์ได้ครั้งละมากๆ เมื่อผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมแต่ละกิจกรรมแล้วระบบคอมพิวเตอร์ สามารถบอกคำตอบหรือผลเฉลี่ยของกิจกรรมที่ถูกต้องได้ทันที
       ข้อจำกัดของระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน
1. ขาดบทเรียนสำเร็จรูปที่ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน ถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนา บทเรียนสำเร็จรูปเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ในต่างประเทศเกี่ยวกับการสอนวิชาต่าง ๆ แต่วิชาเหล่านี้ไม่ ได้จัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรของประเทศไทย ทำให้ไม่สามารถนำมาใช้ได้โดยตรง จำเป็นต้องมีการนำมาพัฒนาหรือปรับปรุงให้เหมาะสมกับหลักสูตรของประเทศไทย และเป็นภาษาไทยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจบทเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
2.
 ขาดบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนให้เหมาะ สมกับระบบการเรียนการสอน แต่ละท้องถิ่นของประเทศไทย ซึ่งมีความแตกต่างทางด้านสังคมเศรษฐกิจ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ผู้มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์อย่างดีขาดความรู้ด้านการจัดระบบการศึกษา และฝึกอบรมบุคลากรในสาขาวิชาชีพอื่นๆ และผู้ที่มีความรู้ในด้านการจัดระบบการศึกษา



แหล่งที่มา
https://sites.google.com/site/ajyutt/khxmphiwtexr-chwy-sxn-cai
http://www.thailibrary.in.th/2014/04/01/moocs/
http://www.tkpark.or.th/tha/articles_detail/196/MOOCs