วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)

การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)


 
บลูม (Bloom) และคณะ ได้จำแนกจุดประสงค์ทางการศึกษาออกเป็น 3 ด้าน พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย ได้แบ่งย่อยเป็น 6 ด้าน ดังนี้

1. ด้านความรู้ความจำ (Knowledge)
          ความรู้ความจำ หมายถึง ความสามารถของสมองที่เก็บสะสมเรื่องราวต่างๆ หรือประสบการณ์ทั้งปวงที่ตนได้รับรู้มา
ตัวอย่างข้อสอบ
-          มุมที่กาง  90  องศา  เรียกว่ามุมอะไร
ก.       มุกฉาก
ข.       มุมตรง
ค.       มุมป้าน
ง.        มุมกลับ
จ.       มุมแหลม

2. ด้านความเข้าใจ (Comprehension)
          หมายถึง ความสามารถในการนำความรู้ความจำไปดัดแปลงปรับปรุง เพื่อให้สามารถจับใจความ หรือเปรียบเทียบ ย่นย่อเรื่องราว ความคิด ข้อเท็จจริงต่างๆ
ตัวอย่างข้อสอบ
-          ข้อความใดมีความหมายเป็น  หาร”  ?
ก.       ของหายอยู่เสมอ
ข.       รายได้ลดลงเรื่อย ๆ
ค.       คนจนควรได้รับของแจก
ง.        กอบโกยเอาไปพอ ๆ กัน
จ.       คนที่รวยก็รวยอย่างเหลือ

3. ด้านการนำไปใช้ (Application)
          หมายถึง ความสามารถในการนำความรู้ ความเข้าใจในเรื่องราวใดๆ ไปใช้ในสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวันหรือในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน
ตัวอย่างข้อสอบ
-          อุปกรณ์ชนิดใดที่เปลี่ยนแปลงพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า 
ก.       ตู้เย็น
ข.       พัดลม
ค.       มอเตอร์
ง.        ไดนาโม
จ.       แบตเตอรี่

4. ด้านการวิเคราะห์ (Analysis)
          หมายถึง การแยกแยะพิจารณาดูรายละเอียดของสิ่งต่างๆ หรือเรื่องราวต่างๆ ว่ามีชิ้นส่วนใดสำคัญที่สุด เป็นการใช้วิจารณญาณเพื่อไตร่ตรอง
ตัวอย่างข้อสอบ
-          ข้อใดเป็นหลักการซื้อยา  ?
ก.       นำตัวอย่างไปซื้อ
ข.       ซื้อตามใบสั่งแพทย์
ค.       ซื้อตามที่ผู้ขายแนะนำ
ง.        ซื้อตามคำโฆษณาในทีวี
จ.       ซื้อตามคำแนะนำของเพื่อน

5. ด้านการสังเคราะห์ (Synthesis)
          หมายถึง ความสามารถในการผสมผสานเรื่องราวหรือสิ่งต่างๆ ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างเป็นเรื่องราวใหม่
ตัวอย่างข้อสอบ
-          นางงามทุกคนเป็นคนสวย คนสวยส่วนมากผิวขาว คนผิวขาวบางคนกลัวแดด สรุปได้ว่าอย่างไร ?
ก.       คนสวยทุกคนผิวขาว
ข.       นางงานทุกคนผิวขาว
ค.       คนสวยมากกลัวแดด
ง.        นางงามบางคนกลัวแดด
จ.       ยังสรุปแน่นอนไม่ได้

6. ด้านการประเมินค่า (Evaluation)
หมายถึง การวินิจฉัย หรือตีราคา เรื่องราว ความคิด เหตุการณ์ต่างๆ โดยสรุปเป็นคุณค่าว่า ดี-เลว
ตัวอย่างข้อสอบ
-          ในเรื่องสังข์ทอง  นางรสนาเป็นคนประเภทใด
ก.       ดี  เพราะซื่อสัตย์ต่อสามี
ข.       ดี  เพราะเทวดาคอยช่วย
ค.       ดี  เพราะอยู่ในกระท่อมได้
ง.        ดี  เพราะไม่คิดเบียดเบียนใคร
จ.       ดี  เพราะมีเมตตาต่อคนทุกข์ยาก